กล้องระดับมีหลายชนิด แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน

การทำงานก่อสร้างโดยใช้กล้องสำรวจได้รับสมัยนิยมและการยอมรับในวงการก่อสร้างมานานแล้ว การทำงานโดยใช้กล้องสำรวจนั้นสามารถทำได้นานาประการวิธี และกล้องสำรวจก็จำแนกออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะหาข้อมูลข้องานสำรวจนั้นๆ กล้องระดับ (Auto Level) ใช้สำหรับเสาะแสวงค่าความสูงต่ำของพื้นที่ดิน ผิวถนน และยังสามารถนำมาตั้งระดับของเครื่องจักรขนาดใหญ่ได้ กล้องระดับก็จะแบ่งได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับความละเอียดของงาน กล้องระดับ (Level) เป็นกล้องสำรวจเพื่อใช้ในการหาความสูงของระดับที่ตำแหน่งต่างๆ เทียบกับตำแหน่งที่ทราบความสูงแล้ว หรือสมมุติค่าความสูงเอาไว้แล้วเป็นจุดอ้างอิง กล้องระดับมีหลายชนิด แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องเลือกใช้งานกล้องระดับให้ถูกกับงาน

ส่วนประกอบหลักของกล้องระดับชนิดต่างๆ จะประกอบไปด้วย ตัวลำกล้อง (Telescope) และฐานกล้อง (Tribach) ตัวลำกล้องของกล้องระดับจะประกอบไปด้วย ช่องมองภาพ (Eyepiece) ควงปรับระยะโฟกัส (Focusing Screw) เลนส์วัตถุ (Objective Lens) และก้านเล็งแนว (Peep Sights) หรือหลอดเล็งแนว (Optical Sights) ส่วนฐานกล้องของกล้องระดับประกอบด้วยส่วนของแกนดิ่งในการหมุนกล้องในแนวนอน ส่วนของควงปรับระดับแบบสามเส้า หลอดลูกน้ำตั้งระดับ และส่วนของแท่นยึดสามขาเพื่อการตั้งกล้องระดับ

กล้องระดับดัมปี (Dumpy Level) เป็นกล้องระดับรุ่นเก่า ตัวแกนของลำกล้องกับแกนดิ่งของกล้องจะเป็นชิ้นเดียวกัน ไม่สามารถเลื่อนตัวกล้องระดับในแนวดิ่งได้ ทำให้การตั้งระดับตัวกล้องก่อนการใช้งานกล้องระดับเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลามาก

กล้องระดับทิลติ้ง (Tilting Level) เป็นกล้องระดับที่มีการติดตั้งควงสัมผัสทางดิ่ง (Tilting Screw) สามารถกระดกแกนลำกล้องในแนวดิ่งได้เล็กน้อย กล้องระดับทิลติ้ง จะมีทั้งหลอดระดับฟองกลมที่ฐานกล้อง และหลอดระดับฟองยาวที่ตัวลำกล้อง สามารถทำให้แกนแนวเล็งของกล้องอยู่ในระนาบราบได้โดยไม่ต้องตั้งฉากกับแกนดิ่ง

กล้องระดับอัตโนมัติ (Automatic Level) เป็นกล้องระดับที่สะดวกต่อการใช้งาน และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจาก กล้องระดับอัตโนมัติจะมีแต่หลอดระดับฟองกลมสำหรับการตั้งระดับของกล้องแบบคร่าวๆ โดยไม่ต้องตั้งหลอดระดับฟองยาว และหลังจากตั้งระดับฟองกลมแบบคร่าวๆแล้ว กล้องระดับอัตโนมัติจะทำการตั้งระดับเองโดยอัตโนมัติด้วยระบบ Compensator ที่อยู่ภายในกล้อง เมื่อหมุนกล้องเพื่อส่องไปยังทิศทางต่างๆ ระบบ Compensator ก็จะปรับให้แนวเล็งอยู่ในระดับเองโดยอัตโนมัติ

กล้องระดับอัตโนมัติ (Automatic Level) ยังสามารถแบ่งตามกำลังขยายของกล้องระดับ เพื่อให้เลือกใช้งานเหมาะสมกับความละเอียดของงานที่ใช้ ได้แก่ กล้องระดับอัตโนมัติกำลังขยาย 24 เท่า มีค่าความคลาดเคลื่อนในการทำระดับ ไป-กลับ ระยะทาง 1 กม. เท่ากับ 2.0 มิลลิเมตร กล้องระดับอัตโนมัติ กำลังขยาย 28 เท่า มีค่าความคลาดเคลื่อนในการทำระดับ ไป-กลับ ระยะทาง 1 กม. เท่ากับ 1.5 มิลลิเมตร กล้องระดับอัตโนมัติกำลังขยาย 30 เท่า มีค่าความคลาดเคลื่อนในการทำระดับ ไป-กลับ ระยะทาง 1 กม. เท่ากับ 1.0 มิลลิเมตร และกล้องระดับอัตโนมัติกำลังขยาย 32 เท่า มีค่าความคลาดเคลื่อนในการทำระดับ ไป-กลับ ระยะทาง 1 กม. เท่ากับ 1.0 มิลลิเมตร หรือ 0.7 มิลลิเมตร